ป่าเลนสมบูรณ์ เพิ่มพูนอาหารมั่นคง
ความสำคัญของป่าชายเลน
ป่าชายเลน(Mangrove Forest) คือ ระบบนิเวศที่ประกอบไปด้วยพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์หลายชนิด ดำรงชีวิตร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่เป็นดินเลน น้ำกร่อย และมีน้ำทะเลท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นจึงพบป่าชายเลนปรากฏอยู่ทั่วไป ตามบริเวณทีเป็นชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ ทะเลสาบ และรอบเกาะแก่งต่างๆ ในพื้นที่ชายทะเล
พันธุ์ที่มีมากและมีบทบาทสำคัญที่สุดในป่าชายเลน คือ ไม้โกงกาง ป่าชายเลนจึงมีชื่อเสียงอีกอย่างว่า 'ป่าโกงกาง'
สถานการณ์ป่าชายเลน
ในช่วงปี 2518-2539 พื้นที่ป่าชายเลนของประเทศไทยลดลงอย่างรวดเร็ว โดยลดลงจากปี 2504 กว่าร้อยละ 50
อย่างไงก็ดี นับจากปี 2539 เป็นต้นมา พื้นที่ป่าชายเลนได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอันเป็นผลมาจากโครงการปลูกฟื้นฟู
จำนวนพื้นที่ป่าชายเลนของไทย
สาเหตุของปัญหาในการจัดการป่าชายเลน
การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าชายเลน
ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
การขยายพื้นที่
เมืองและอุตสาหกรรม
ระบบนิเวศน์ป่าชายเลน
ที่เหลืออยู่ในอุดมสมบูรณ์
ความรู้ความเข้าใจของป่าชายเลนยังไม่เพียงพอ
และไม่ถูกต้องในกลุ่มบุคคลระดับต่างๆ
แนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟู
ปลูก
ปลูกจิตสำนึกอนุรักษ์ผ่านการส่งเสริมกระบวนการเข้าถึงความรู้ เพื่อเพิ่มคุณค่าของป่าชายเลนและระบบนิเวศชายฝั่งควบคู่ไปกับปลูกป่าชายเลนในพื้นที่ยุทธศาสตร์ผ่าน 4 ชั้นตอน
ปัน
แบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ด้านการปลูกและการดูแลป่าชายเลยตลอดจนกระบวนการจัดการอย่างมีส่วนร่วม
ป้อง
ปกป้องป่าชายเลนด้วยการสร้างความร่วมมือระหว่างเครือข่ายและภาคประชาสังคมบนพื้นฐานความรู้ความเข้าใจถึงคุณค่าและประโยชน์ของป่าชายเลน
1 เพาะกล้า
ด้วยเมล็ดพันธุ์ดีมีคุณภาพบนพื้นที่เพาะชำ ที่มีสภาพแวดล้อมทั้งความชื้น ออกซิเจน อุณหภูมิ และแสงสว่างที่เหมาะสมต่อการเจร้ญเติบโต ผ่านการบำรุงรักษาก่อนนำไปปลูก
4 วัดผล
โดยการติดตามและรายงานผล ทั้งปริมาณพื้นที่ป่าชายเลนที่ได้รับการอนุรักษ์ รวมถึงจำนวนและความหลากหลายของชนิดพันธุ์
4
ขั้นตอนสำคัญ
การปลูกป่าชายเลน และระบบนิเวศชายฝั่ง
2 ลงปลูก
โดยคำนึงถึงระบบนิเวศ อาทิ ความลึกของน้ำ กระแสน้ำ พันธุ์ไม้ มีความเหมาะสมกับพื้นที่เป็นต้น
3 ดูแล
ด้วยการปลูกซ้ำหากมีต้นไม้เสียหาย การขูดเพรียงซึ่งเป็นอุปสรรคสำคํญที่จะยับยั้งการเจริญเติบโต การกำจัดวัชพืชต่างๆ เพื่อลดการแก่งแย่งอาหาร และการดูแลอื่นๆ ที่เหมาะสม
จากความมุ่งมั่นสู่ความร่วมมือ
ความมุ่งมั่น
ด้วยความสำคัญของป่าชายเลน ที่เชื่อมต่อระบบนิเวศระหว่างบกและทะเลเป็นศูนย์รวมความหลากหลายที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต อันนำมาซึ่งการรักษาสมดุลทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ สถานศึกษา ชุมชนในพื้นที่ดำเนินการปลูกป่าชายเลนมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2536 จนถึงปัจจุบัน โดยสามารถปลูกป่าชายเลยแล้วกว่า 5,600 ไร่ ณ พื้นที่ป่าชายเลน 17 จังหวัด ในภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออก
พื้นที่ป่าชายเลน
พื้นที่ปลุกป่าชายเลนโดย CPFตั้งแต่ปี 2536-2556
พื้นที่
พื้นที่ปลูกใหม่
ไร่
พื้นที่อนุรักษ์
ไร่