ความสำคัญของป่าไม้
ด้วยความสำคัญของป่าไม้ที่มีส่วนสำคัญต่อการรักษาความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ และการส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ
เป็นต้นทางของต้นน้ำลำธาร เป็นแหล่งผลิตปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของมนุษย์ ซึ่งสัมพันธ์และเชื่อมโยงโดยตรงต่อ “ความมั่นคงทางอาหาร”
ของประชากรโลก หากป่าไม้สูญเสียความสมดุล ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อแหล่งทรัพยากรอาหาร อันส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในที่สุด
สถานการณ์ป่าไม้
พื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยมีสถิติลดลงอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2504 มีพื้นที่ป่าไม้ 171 ล้านไร่ หรือ 53% ของพื้นที่ประเทศ แต่ในปี พ.ศ. 2558
มีพื้นที่ป่าไม้เหลืออยู่ 102 ล้านไร่ หรือ 31.6% ของพื้นที่ประเทศ ซึ่งการลดลงของทรัพยากรป่าไม้ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน นำไป
สู่การเกิดภัยพิบัติตามธรรมชาติรุนแรงและบ่อยมากขึ้น สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ
สำหรับพื้นที่ป่าต้นน้ำเขาพระยาเดินธง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ได้รับการประกาศให้เป็นป่าไม้ถาวรของชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่
14 พฤศจิกายน 2504 ในอดีตพื้นที่ป่าเขาพระยาเดินธงเคยมีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ด้วย
สาเหตุของการขยายตัวชุมชน ความต้องการที่ดินทำกิน ป่าเขาพระยาเดินธงจึงถูกบุกรุกแผ้วถางไม้ขนาดใหญ่ และมีค่าทางเศรษฐกิจถูกตัดไปใช้
ประโยชน์จนหมดสิ้น ปัจจุบันมีไม้พุ่ม เถาวัลย์ และวัชพืชขึ้นปกคลุมหนาแน่น ยากแก่การฟื้นตัวตามธรรมชาติ จึงจำเป็นต้องได้รับการจัดการฟื้นฟู
และบำรุงรักษาเพื่อให้ป่าเขาพระยาเดินธงกลับไปมีความอุดมสมบูรณ์ดังเดิม
ความมุ่งมั่น
เพื่อร่วมสนับสนุนนโยบายภาครัฐด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ตลอดจนสานต่อภารกิจความยั่งยืนของซีพีเอฟในเสาหลักด้านสิ่งแวดล้อม “ดิน น้ำ
ป่าคงอยู่” ที่มีความมุ่งมั่นในการร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ป่ายุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ตามแนวคิด “จาก
ภูผาสู่ป่าชายเลน ร่วมปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ” ซีพีเอฟ จึงได้ร่วมกับกรมป่าไม้ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) และเครือข่ายภาคประชาสังคม ดำเนินโครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก
เขาพระยาเดินธง ภายใต้โครงการเขาพระยาเดินธง “ศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี”
จังหวัดลพบุรี จำนวน 5,971 ไร่ ตามแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี ระหว่างปี 2559 – 2563
โดยมีเป้าหมายการดำเนินงานร่วมกัน 5 ประการ ได้แก่
- ดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำในลุ่มน้ำป่าสักพื้นที่เขาพระยาเดินธง จนกลับมามีความอุดมสมบูรณ์ เป็นการเพิ่มพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ให้กับลุ่มน้ำป่าสัก
- ติดตามและวัดผลความหลากหลายทางชีวภาพของ พืช และสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้น (โดยเทียบจากข้อมูล Baseline ของปีเริ่มดำเนินโครงการ)
- ร่วมลดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากจำนวน CO2 ที่ต้นไม้กักเก็บ และการให้บริการระบบนิเวศของต้นไม้
- เป็นแหล่งพืชอาหาร สมุนไพร และไม้ใช้สอยให้กับชุมชน สร้างงานและรายได้ให้กับประชาชนที่อยู่โดยรอบ
- พัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบด้านการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ของชาติ
จากความมุ่งมั่นสู่ความร่วมมือ
1. กรมป่าไม้
พิจารณาคัดเลือกพื้นที่เพื่อให้มีการอนุรักษ์ฟื้นฟู สนับสนุนความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการคัดเลือก พันธุ์ไม้ การปลูก ดูแล
บำรุงรักษา ติดตามดูแลประเมินผลให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์และรายงานผลการดำเนินงาน
2. องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
เป็นที่ปรึกษาและให้การสนับสนุนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
3. สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)
เป็นที่ปรึกษาและให้การสนับสนุนด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
4. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
ให้การสนับสนุน และร่วมดำเนินการอนุรักษ์ฟื้นฟู ติดตาม ประเมินผล เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์
ในอาณาเขตและแนวทางที่กรมป่าไม้กำหนดร่วมกันไว้ และนำข้อมูลผลการดำเนินงานเผยแพร่สื่อสารประชาสัมพันธ์
ตามความเหมาะสม
แนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟู
การปลูกป่าแบบพิถีพิถัน
คือ ดำเนินการในพื้นที่ซึ่งมีสภาพเสื่อมโทรมมาก หากปล่อยให้ต้นไม้มีการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติต้องใช้
เวลานาน และพื้นที่นั้นจะต้องมีการคมนาคมที่สะดวก ปลูกและบำรุงรักษากล้าไม้ด้วยความพิถีพิถัน ลด
การพึ่งพิงปัจจัยสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ มีการใส่ปุ๋ย ให้น้ำ พรวนดิน กำจัดวัชพืช ป้องกันไฟป่าเสมือน
การปลูกพืชเกษตรทั่วไป เพื่อให้ต้นไม้ที่ปลูกมีอัตราการรอดตายสูงสุด และเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
การปลูกเสริมป่า
คือ ดำเนินการในพื้นที่ซึ่งมีแม่ไม้และลูกไม้เกิดขึ้นตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ไม่กระจายครอบคลุมทั่วพื้นที่
หรือไม่มีแม่ไม้หรือลูกไม้ที่เป็นองค์ประกอบหลักของป่าไม้บริเวณนั้น จำเป็นต้องนำกล้าไม้ไปปลูกเสริม
เพื่อให้ป่าไม้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น การปลูกเสริมป่าต้องอาศัยปัจจัยสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติเพื่อ
ให้กล้าไม้รอดตายและเจริญเติบโต
การส่งเสริมการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ
คือ ดำเนินการในพื้นที่ซึ่งมีแม่ไม้ขึ้นตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ไม่สามารถสืบพันธุ์ได้ หรือมีลูกไม้แต่ไม่
สามารถเจริญเติบโตเป็นไม้ใหญ่ได้ เนื่องจากมีปัจจัยคุกคามหรือขัดขวางการสืบพันธุ์ของแม่ไม้หรือ
การเจริญเติบโตของลูกไม้ เช่น เกิดไฟป่าเป็นประจำทุกปี มีการเลี้ยงสัตว์ หรือมีวัชพืชขึ้นอย่างหนาแน่น
เป็นต้น จึงจำเป็นต้องป้องกันหรือกำจัดปัจจัยคุกคามหรือปัจจัยขัดขวางออกไป เช่น การป้องกันไฟป่า
การทำรั้วป้องกันสัตว์เลี้ยง หรือการกำจัดวัชพืช เป็นต้น เพื่อให้แม่ไม้สามารถสืบพันธุ์ได้หรือให้กล้าไม้
สามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
ปล่อยตามธรรมชาติ
เป็นพื้นที่ริมหน้าผา ปล่อยให้ต้นไม้ขึ้นตามธรรมชาติ
พื้นที่ป่าที่ร่วมอนุรักษ์
เป็นพื้นที่ที่หน่วยงานอื่นมาปลูกไว้ แต่ไม่ได้ดูแลอย่างต่อเนื่อง และเนื่องจากอยู่ในพื้นที่โครงการ
กรมป่าไม้จึงให้คนงานของโครงการร่วมติดตาม และดูแลด้วย
ภาพกิจกรรม
เปิดตัวโครงการ
14 photos
พิธีลงนามความร่วมมือ
4 photos